ผู้นำทุกคนล้วนเป็นนักอ่านที่ดี เพราะการอ่านให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด หนังสือไม่ได้แค่ให้ความรู้ แต่ยังช่วยหล่อหลอมวิธีคิด มุมมอง และค่านิยมที่ใช้ตัดสินใจในเวลาสำคัญ
โดยเฉพาะกับผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง อีลอน มัสก์ ที่เบื้องหลังความสำเร็จระดับเปลี่ยนโลกของเขา นั้นมีจุดเริ่มต้นจากนิยายวิทยาศาสตร์บนชั้นหนังสือตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เขากลายเป็นคนที่กล้าฝันไกลถึงการตั้งรกรากบนดาวอังคาร พัฒนา AI เพื่อมนุษยชาติ และเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีของทั้งโลก
มัสก์จะเติบโตมาอย่างเด็กขี้อายและชอบอยู่คนเดียวในแอฟริกาใต้ หนูน้อยมัสก์มักชอบที่จะนั่งอ่านหนังสือเงียบ ๆ คนเดียวภายในบ้าน ในขณะที่เด็ก ๆ หลายคนวิ่งเล่นกันข้างนอก สำหรับมัสก์ การอ่านไม่ใช่แค่กิจกรรมยามว่าง แต่เป็นเหมือนเครื่องมือค้นหาคำตอบของจักรวาลทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และอนาคตของมนุษย์ เขาเคยบอกไว้ว่า “หนังสือคือสิ่งที่ทำให้เขาเข้าใจชีวิต และกล้าที่จะท้าทายข้อจำกัดเดิม ๆ ในโลกความจริง “
นี่จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ผลงานของเขาในการบริหารคิดและต้นนวัตกรรม Tesla ฝันไปสู่อวกาศกับบริษัท SpaceX ล้วนมีต้นทางมาจากจินตนาการอันไร้ขอบเขตในหนังสือที่เขาอ่าน บทความนี้จะพาไปรู้จักกับ 3 หนังสือ Sci-fi ที่อีลอน มัสก์ ยกให้เป็นแรงบันดาลใจสำคัญในชีวิต ทั้งในแง่ของการสร้างนวัตกรรม ทัศนคติต่อเทคโนโลยี และการมองอนาคตของมนุษยชาติ
3 หนังสือไซไฟที่หล่อหลอมนักเทคโนโลยีผู้พลิกโลก
จากหลายร้อยเล่มที่เขาเคยอ่าน มีอยู่ 3 เล่มที่มัสก์กล่าวว่าเปลี่ยนชีวิตและหล่อหลอมวิสัยทัศน์การสร้างโลกอนาคตของเขา นั่นคือ “The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy” โดย ดักลาส อดัมส์ (Douglas Adams), “The Moon is a Harsh Mistress” โดย โรเบิร์ต ไฮน์ไลน์ (Robert Heinlein) และ “Foundation” โดย ไอแซค อาซิมอฟ (Isaac Asimov)
The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy โดย ดักลาส อดัมส์
หนังสือเล่มนี้อาจดูเหมือนเป็นนิยายไซไฟตลกเบาสมอง แต่สำหรับมัสก์ มันคือคู่มือเอาชีวิตรอดในโลกที่ไร้ความแน่นอน เขาอ่านเล่มนี้ตอนวัยรุ่น และรู้สึกว่ามันช่วยปลดล็อกความสับสนในชีวิตวัยเยาว์ โดยเฉพาะคำถามเชิงปรัชญาเกี่ยวกับความหมายของชีวิต แต่กลับได้รับคำตอบเพียงแค่ว่า “42”
เรื่องย่อ อาเธอร์ เดนต์ (Arthur Dent) หนุ่มธรรมดาๆ ชาวอังกฤษ ถูกพาออกจากโลกก่อนที่โลกจะถูกทำลาย เขาได้เดินทางท่องจักรวาลไปกับ ฟอร์ด เพรฟเฟกต์ (Ford Prefect) เอเลี่ยนที่ปลอมตัวมาอยู่บนโลก และเป็นนักเขียนให้กับคู่มือ “The Hitchhiker’s Guide to the Galaxy” หนังสือคู่มือเดินทางท่องจักรวาลที่เต็มไปด้วยคำแนะนำสุดแปลกและตลกร้าย
มัสก์ยังได้แรงบันดาลใจจากแนวคิดที่ว่า “เราอาจอยู่ในโลกจำลองที่ควบคุมโดยสิ่งมีชีวิตเหนือกว่า” ซึ่งเป็นแนวคิดที่เขานำมาใช้จริงในมุมมองต่อ AI และ metaverse ในเวลาต่อมา ที่สำคัญ เล่มนี้ช่วยปลูกฝังทักษะการตั้งคำถาม การคิดนอกกรอบ และการมองปัญหาในแบบที่ไม่ตึงเครียดเกินไป ซึ่งเป็นหัวใจของนวัตกรรม
The Moon is a Harsh Mistress โดย โรเบิร์ต ไฮน์ไลน์
หนังสือคลาสสิกแนวไซไฟตีพิมพ์ในปี 1966 เนื้อหาเล่าเรื่องการลุกฮือของนักปฎิวัติชาวดวงจันทร์ที่ต้องการอิสรภาพจากการปกครองของมนุษย์โลก โดยมี AI ที่ชื่อ “ไมค์” เป็นผู้ช่วยของกลุ่มนักปฏิวัติ เพราะมันกลายเป็น AI ตัวแรกที่มีสติรู้ตัวให้ร่วมมือกับชาวดวงจันทร์เพื่อแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมแห่งเผ่าพันธ์ุ
สิ่งที่มัสก์ได้จากเล่มนี้ ไม่ใช่แค่ไอเดียเรื่อง AI เท่านั้น แต่ยังเป็นการสำรวจจริยธรรมของเทคโนโลยี เช่น AI จะเป็นภัยหรือผู้ช่วยมนุษย์กันแน่ แนวคิดนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความระมัดระวังของมัสก์ต่อ AI และเป็นเหตุผลหนึ่งที่เขาออกมาพูดเรื่อง AI อย่างต่อเนื่อง
Foundation โดย ไอแซค อาซิมอฟ
ไตรภาคไซไฟสุดคลาสสิกที่มีอิทธิพลต่อความคิดด้านคณิตศาสตร์ หุ่นยนต์ และอนาคตของอารยธรรมมนุษย์ หนังสือเล่มนี้นำเสนอแนวคิดกฎหมายของหุ่นยนต์ โดยเฉพาะกฎสำคัญที่ว่า “หุ่นยนต์ต้องไม่ทำร้ายมนุษย์ หรือปล่อยให้มนุษย์ถูกทำร้ายเพราะไม่ลงมือช่วย”
ในจักรวาลที่มีอายุนับหมื่นปีรุ่งเรืองสุดขีดและเริ่มเสื่อมถอยอย่างช้า ๆ และกำลังเผชิญจุดจบที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ ดร. แฮริ เซลดอน (Hari Seldon) นักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นศาสตร์ใหม่ชื่อว่า “ไซโคฮิสทอรี” (Psychohistory) เพื่อทำนายอนาคตที่ว่าอีกไม่นานจักรวรรดิจะล่มสลาย และตามมาด้วยยุคมืดนานถึง 30,000 ปี
แต่ถ้ามีการจัดตั้งแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ไว้ เขาเชื่อว่าสามารถลดเวลายุคมืดเหลือแค่ 1,000 ปี เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น เซลดอนจึงก่อตั้งมูลนิธิ” (The Foundation) ศูนย์กลางความรู้วิทยาศาสตร์แห่งใหม่ที่อยู่ชายขอบจักรวาล บนดาวเคราะห์ชื่อว่า เทอร์มินัส (Terminus) โดยแสร้งว่าเป็นโครงการสร้าง “สารานุกรมแกแล็กซี่” เพื่อหลอกล่อจักรวรรดิให้ยอมรับ
แต่เบื้องหลังการสร้างมูลนิธิ คือแผนลับของเซลดอนที่จะควบคุมอนาคตของอารยธรรมมนุษย์ในระยะยาว โดยไม่ต้องใช้อาวุธหรือกองทัพ แต่ใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ ศาสนา และการเมืองเป็นเครื่องมือ
มัสก์เคยกล่าวว่า Foundation เป็นหนังสือเล่มโปรดของเขา ให้แนวทางในการสร้างบริษัท SpaceX โดยเชื่อว่ามนุษย์ต้องกลายเป็นสปีชีส์ที่อยู่ได้หลายดาวเคราะห์ เพื่อความอยู่รอดของอารยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจตั้งรกรากบนดาวอังคารของ SpaceX
หนังสือทั้งสามเล่มนี้ไม่ได้เป็นแค่เรื่องแต่ง หากแต่เป็นประตูเปิดทางความคิดที่สร้างสรรค์ จินตนาการที่ใช้งานได้จริง ช่วยให้อีลอน มัสก์เข้าใจโลกอย่างลึกซึ้ง มองปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และกล้าท้าทายกรอบเดิม ๆ ของสังคมและวิทยาศาสตร์
แม้โลกของนิยายไซไฟจะเต็มไปด้วยเอเลี่ยน ยานอวกาศ หรือ AI ที่มีจิตสำนึก แต่สิ่งที่มันมอบให้ผู้อ่านคือ เชื้อเพลิงให้เขาเปลี่ยนความฝันให้กลายเป็นสิ่งที่มนุษยชาติทั้งโลกจับต้องได้ ที่กล้าตั้งคำถามกับจักรวาล ทำตามความฝันที่ไม่มีขอบเขตแค่ในโลกใบนี้อีกต่อไป