จากเหตุการณ์ที่นักกีฬาทีมฟุตบอลเยาวชนและโค้ช หมูป่าอะคาเดมี จังหวัดเชียงราย รวม 13 คน ได้ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2018 เป็นต้นมา รวมเป็นระยะเวลากว่า 10 วันแล้ว

ถึงแม้ว่าจะมีการร่วมกันช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจนพบทั้ง 13 คนในที่สุด แต่สถานการณ์กลับยังน่าวิตก และต้องเร่งหาวิธีนำพวกเขาออกจากถ้ำโดยเร่งด่วน

ล่าสุด (6 กรกฎาคม 2018) อีลอน มัสก์ ซีอีโอ SpaceX และบริษัทขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดิน Boring Co. ได้ทวีตตอบรับสนับสนุนความช่วยเหลือในครั้งนี้แล้ว โดยทีมวิศวกรของ SpaceX และ Boring Co. จะเดินทางมายังประเทศไทยในวันที่ 7 กรกฎาคม 2018 เพื่อดูว่าจะสามารถช่วยเหลือรัฐบาลไทยได้อย่างไรบ้าง

อีลอน มัสก์

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2018 ที่ผ่านมา คุณ @MabzMagz ได้ทวีตขอความช่วยเหลือจาก @elonmusk (อีลอน มัสก์) ซึ่งอีลอน มัสก์ ได้แสดงความเห็นส่วนตัวว่า รัฐบาลไทยสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ถ้าหากมีอะไรที่สามารถทำได้ เขาก็ยินดีที่จะช่วยเหลือ

จากอุปสรรคสำคัญที่คุณ @JamesWorldSpace (James Yenbamroong) ได้อธิบายแก่ อีลอน มัสก์ ว่าถ้ำมีความยาว 5 กิโลเมตร จึงจะไปถึงทั้ง 13 คน โดยจุดที่แคบที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร อยู่ตรงกลางของเส้นทาง ซึ่งถ้าจะเจาะจากด้านบนลงไป จะคิดเป็นระยะทางประมาณ 0.5 ไมล์ หรือประมาณ 0.8 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดที่ทั้ง 13 คนอยู่นั้น

สิ่งที่ อีลอน มัสก์ ได้นำเสนอคือ

  1. บริษัท Boring Co. ของเขานั้นมีเทคโนโลยีตรวจจับใต้ดินที่ล้ำหน้า

  2. สอดท่อไนลอนเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร เข้าไปตามแนวถ้ำ แล้วจึงสูบลมเข้าไปเพื่อให้ท่อพองตัว ซึ่งจะสร้างเป็นอุโมงค์ลมใต้น้ำที่มีขนาดเท่ากับตัวถ้ำ รวมถึงจุดที่แคบที่สุด (เส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร) ด้วย เพื่อให้เด็กสามารถเดินออกมาได้โดยไม่ต้องดำน้ำ

  3. (จากภาพ) จุดที่ 2 และ 3 จะต้องใช้ Battery Pack ในการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อปั๊มลมเข้ามายังท่อ

นอกเหนือจากแนวคิดของ อีลอน มัสก์ แล้วนั้น ก่อนหน้านี้ก็ได้มีการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มากมาย ในระหว่าการช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น

หุ่นยนต์ดำน้ำบังคับระยะไกล (ROV : Remotely Operation Vehicle) จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทีมงานศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมอากาศและทะเล

โดรน (Drone) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สามารถตรวจจับความร้อนได้ในเวลากลางคืนได้

เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เพื่อช่วยลดระดับน้ำภายในถ้ำ

รถสถานีเคลื่อนที่ จาก 5 เครือข่าย คือ  True, Dtac, AIS, CAT และ TOT เพื่อขยายสัญญาณคลื่นโทรศัพท์ให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้อย่างราบลื่น

อุปกรณ์ช่วยเหลือจากประเทศสวีเดนและอิตาลี เช่น ไฟฉายที่ใช้ได้ทั้งบนบกและใต้น้ำ และอุปกรณ์ช่วยในการหายใจ

อุปกรณ์สแกนจำลองภาพ 3 มิติ หรือ Leica Scanner P20 นำมาใช้ในการจำลองภาพภายในถ้ำ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนไทย และความช่วยเหลือจากเพื่อนมนุษย์ทั่วโลกกว่า 50 หน่วยงาน เพื่อช่วยช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต ในครั้งนี้

  • ท่านสามารถคลิกดูรายชื่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิง : @elonmusk , siamphone และ thestandard