จากข้อมูลของสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) ระบุว่าชาวอเมริกันที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สูญเสียเงินกว่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 11,000 ล้านบาท) จากการฉ้อโกงทางออนไลน์ในปี 2565 โดยสูญเสียเฉลี่ย 35,101 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,250,000 บาท) ต่อเหยื่อหนึ่งราย ซึ่งเงินก้อนนี้นั้นถือว่าสูงมาก หากเทียบกับเงินเก็บหลังเกษียณอายุ แล้วจะเห็นได้ว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นใกล้ตัวเราเรื่อยๆ ดังนั้นเราจะทำอย่างไร ให้รู้เท่าทัน และป้องกันตัวเองจากการถูกหลอกลวงอย่างไรได้บ้าง

การหลอกโอนเงินของผู้สูงอายุ ที่กำลังถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ

อ้างอิงจาก การโจรกรรมในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยพวกนักต้มตุ๋นทุกวันนี้มักฉลาดหาวิธีหลอกล่อ พวกเขาจะเลือกเหยื่อที่เป็นผู้สูงอายุ และมักจะหาประโยชน์จากความเหงา ความโดดเดี่ยว และบางคนก็มีความสามารถในการตัดสินใจลดลง

ซึ่งงานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนชี้ก็ให้เห็นว่า บุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากความรู้สึกเหงาหรือโดดเดี่ยวมีแนวโน้มที่จะถูกฉ้อโกงมากกว่าผู้ที่รู้สึกพอใจกับชีวิต ในขณะเดียวกัน หอสมุดแห่งชาติด้านการแพทย์ได้เผยแพร่งานวิจัยที่อธิบายเรื่องภาวะเสื่อมถอยทางสติปัญญาอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อแนวโน้มการถูกหลอกลวงมากขึ้น

ผู้หญิงสูงอายุมีโอกาสสูงที่สุดที่จะตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกง ตามข้อมูลจาก สถาบันสตรีเพื่อการเกษียณอายุอย่างปลอดภัย (The Women’s Institute for a Secure Retirement หรือ WISER)   เนื่องจากมีจำนวนผู้หญิงมากกว่าผู้ชายที่อายุเกิน 65 ปี และส่วนใหญ่ผู้หญิงกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่คนเดียวมากกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม อาชญากรเหล่านี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ผู้สูงอายุเท่านั้น บุคคลที่อายุน้อยกว่า 60 ปีก็มีความเสี่ยงต่อภัยทางไซเบอร์เช่นกัน

แผนภาพแสดงเหยื่อแต่ละช่วงวัยที่สูญเสียเงินจากกลโกงออนไลน์ จาก Federal Bureau of Investigation (FBI)

5 สัญญาณของการฉ้อโกง ที่เราควรตระหนักถึง

แผนการหลอกลวงในผู้อาวุโสมีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่อีเมลไปจนถึงกลโกงแอบอ้างบุคคลอื่น ซึ่งออกแบบมาเพื่อหลอกเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงิน เช่นนั้นแล้วการหลีกเลี่ยง จึงอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ที่ไม่ตระหนักถึงสัญญาณเตือนเหล่านี้

แผนภาพแสดงประเภทกลโกงออนไลน์ ของเหยื่อผู้เสียหายอายุ 60 ขึ้นไป จาก Federal Bureau of Investigation (FBI)
  1. อีเมลที่น่าสงสัย มักจะมีการสะกดผิดหรืออักขระแปลกๆ คอยแจ้งให้ผู้รับ ‘คลิกลิงก์’, หลอกให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลที่ละเอียดอ่อน หรือแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแฝงมัลแวร์ (Malware) มาเพื่อขโมย ทำลายข้อมูล หรืออาจจะเปิดช่องทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้ามาควบคุมเครื่องของเรา
  2. ลงท้ายด้วยลายเซ็นอีเมลคลุมเครือ บางครั้งก็เป็นเพียงชื่อและนามสกุลเท่านั้น ซึ่งในทางธุรกิจจำเป็นต้องให้ข้อมูลติดต่อโดยละเอียดตรวจสอบได้ ซึ่งรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ URL ของเว็บไซต์ และหมายเลขโทรศัพท์อย่างเป็นทางการ
  3. การบีบบังคับด้วยเรื่องเร่งด่วน พยายามหลอกล่อ สื่อถึงความเร่งด่วนที่ผิดพลาดหรือคุกคามผลที่ตามมาร้ายแรง อาทิ รายการส่งของอันตราย รายการโอนเงินไปยังผู้ก่อการร้าย เพื่อนำเหตุผลเหล่านี้มากดดันเราให้โอนเงิน
  4. การขอข้อมูลส่วนบุคคล ต้องการข้อมูลส่วนบุคคล หมายเลขบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งหมายเลขประกันสังคมทางโทรศัพท์หรือทางอีเมล เพื่อนำไปแฮ็กเข้าสู่บัญชีการเงินของคุณ 
  5. การแฝงตัวของคนแปลกหน้า โดยนักต้มตุ๋นบางคนแสร้งทำเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนที่ต้องการยืมเงินแบบเร่งด่วน ซึ่งทำได้ง่ายขึ้นด้วยปรับแต่งเสียงจาก Ai

แนวทางปกป้องจากภัยกลโกงออนไลน์

สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยโดดเดี่ยว ไม่มีลูกหลานคอยดูแล หรือประสบปัญหาการคิดวิเคราะห์ลดลง เพียงแค่การระมัดระวังอาจไม่เพียงพอ เราควรที่จะสร้างเครือข่ายการป้องกันที่เป็นระบบจากมิจฉาชีพ ซึ่งสามารถเข้ามาช่วย เมื่อการตัดสินใจทางการเงินเกิดความสับสนเป็นสิ่งสำคัญ ดังต่อไปนี้:

  • การวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ เริ่มจัดเครือข่ายสนับสนุนเมื่ออายุประมาณ 70 ปี ที่ไม่มีเครือข่ายครอบครัว ตัวอย่างเช่น มีผู้ดูแลชุมชนในท้องถิ่น คอยสอดส่องให้เข้าถึงเป็นกันเองกับลูกบ้านผู้สูงวัยแต่ละหลัง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดการช่วยเหลือจากครอบครัว
  • การตรวจสอบความปลอดภัย โดยวัยรุ่นที่มีความรู้สามารถช่วยโดยการตรวจสอบตัวกรองสแปม ตั้งค่ารหัสผ่าน และชำระเงินอัตโนมัติ
  • เตรียมการทางกฎหมาย สร้างเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญ และการจัดตั้งบุคคลที่ไว้วางใจให้ช่วยป้องกันการหลอกโอนเงินได้ ตัวอย่างเช่น หนังสือมอบอำนาจที่สำหรับบุคคลที่เชื่อถือได้ให้จัดการกิจการทางการเงินของบุคคลที่ประสบกับความสามารถการตัดสินใจที่ลดลง