การประชุมของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ Monaco ได้ทำการหารือข้อสรุปของภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ มหาสมุทร และพื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งบนโลกของเรา พวกเขาพบว่าผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนั้นทำให้มหาสมุทรกลายเป็นภาวะฉุกเฉินที่ส่งผลต่อมนุษย์ เจ้าชายอัลเบิร์ตที่ 2 และรัฐบาลโมนาโก ได้สนับสนุนนักวิจัยจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ให้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่น้ำแข็ง และมหาสมุทร เพื่อเตรียมรายงานถึงผลกระทบต่างๆ จากทะเลที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์หลายร้อยล้านคนก่อนสิ้นศตวรรษนี้ รวมทั้งยังรายงานสภาพความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อแนวประการัง และการทำประมง แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ เมื่อพื้นน้ำแข็งละลาย...
ไม่กี่วันที่ผ่านมาหลายคนคงได้ยินข่าวเรื่องไฟไหม้ครั้งใหญ่ในรอบหลายปีที่เกิดขึ้นที่ ‘อเมซอน’ กันมาบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะให้ความสนใจกับข่าวนี้ วันนี้เราจะพาชาวแบไต๋ทุกท่านไปเกาะติดสถานการณ์และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในป่าอเมซอนกันว่ามันมีความสำคัญอย่างไร ทำไมคนทั้งโลกจึงให้ความสนใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ อเมซอน (Amazon) เป็นป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกกินพื้นที่ทั้งหมด 9 ประเทศ แต่พื้นที่กว่า 60% ตั้งอยู่ในเขตประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ ภายในป่ามีพรรณไม้หลายชนิด และ กว่า 75% ของพืชพันธุ์ในป่า สามารถพบได้ที่อเมซอนเท่านั้น ยังไม่พอป่าผืนนี้ยังถือเป็นบ้านหลังใหญ่ของสัตว์จำนวนมากอีกด้วย ด้วยความที่อเมซอนเป็นป่าขนาดใหญ่มันจึงถูกขนานนามว่าเป็นปอดของโลก ที่ผลิตออกซิเจนขึ้นสู่บรรยากาศถึง 20% วิกฤติการณ์ครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะปล่อยผ่านไปได้เพราะนั่นหมายความว่าพื้นที่ที่ผลิตอากาศให้เราหายใจกำลังลดลงไปเช่นกัน...
ปัจจุบันได้มีการรณรงค์ลดการทิ้งขยะและการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมากแต่คุณรู้หรือไม่ว่าในทุกๆวันนี้เราก็ยังผลิตขยะมากกว่า 2 พันล้านตันภายใน 1 ปีและนั่นเป็นปริมาณมากพอที่จะเติมสระว่ายน้ำโอลิมปิกให้เต็มได้ถึง 800,000 สระเลยทีเดียว และหนึ่งในประเทศที่มีขยะเฉลี่ยต่อประชากรมากที่สุดคืออเมริกาเนื่องจากชาวอเมริกันผลิตขยะเฉลี่ยมากกว่าประชากรทั่วโลกถึง 3 เท่า (ขยะในที่นี้นับรวมพลาสติกและเศษอาหารด้วย) แต่เมื่อพูดถึงการรีไซเคิลอเมริกากลับเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลน้อยกว่าประเทศอื่นๆโดยคิดเป็นขยะเพียง 35% เท่านั้นในขณะที่เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลขยะถึง 68% ของปริมาณขยะทั้งหมด งานวิจัยได้ทำการศึกษาถึงการดำเนินการและการจัดการต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศต่อวิกฤติขยะที่โลกกำลังเผชิญที่ส่วนมากเป็นปัญหาของการใช้พลาสติกเป็นส่วนใหญ่ในขณะที่มนุษย์ผลิตขยะเหล่านี้ออกมามากกว่า 2.1 พันล้านตันทุกปีแต่มีเพียง 16% เท่านั้นที่ถูกรีไซเคิล 46% ที่มีการจัดการไม่ดีพอส่วนที่เหลือ… ไม่ได้ถูกจัดการอะไรเลย กระโดดข้ามจากอเมริกามาดูแถบบ้านเรากันบ้างทางด้านประชากรของจีนและอินเดียที่คิดเป็น 36% ของประชากรโลกผลิตขยะได้ 27% ของขยะทั้งหมด ภายหลังจากที่จีนปฏิเสธการนำเข้าขยะจากอเมริกา (ก่อนหน้านี้อเมริกาจะทำการส่งขยะมารีไซเคิลที่จีน) ส่งผลกระทบขนาดใหญ่ต่อวงการการจัดการสิ่งแวดล้อมในอเมริกาและนั่นทำให้พวกเขาไม่มีทางเลือกมากเท่าไหร่ในการจัดการขยะเหล่านั้นและทำให้ในบางครั้งอเมริกาจำเป็นต้องเผาขยะเพื่อจัดการกับขยะ อย่างไรก็ตามปัญหาขยะพลาสติกและการรีไซเคิลยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่จะส่งผลในระยะยาวการจัดการที่ดีของประเทศก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยลดการทิ้งขยะได้แต่อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญคือประชากรทุกคนที่จะช่วยกันลดการทิ้งขยะและใช้ถุงพลาสติกให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้รักโลกร่วมกันลดใช้ถุงพลาสติกกันนะคะ อ้างอิง แชร์โพสนี้
ค่าก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันมีปริมาณสูงมากจนส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อสภาพแวดล้อม และชั้นบรรยากาศของโลกมาเป็นเวลานาน และในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ออกมาเตือนถึงภาวะวิกฤติที่หากเราไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่บรรยากาศอย่างจริงจัง ในอีก 1,000 ปีข้างหน้า น้ำแข็งที่กรีนแลนด์ได้ละลายหายไปหมดแน่ๆ! แรกเริ่มเดิมทีแผ่นน้ำแข็งที่กรีนแลนด์มีขนาดใหญ่พอๆ กับอลาสกา แต่หลังจากที่อุณหภูมิกระแสน้ำของมหาสมุทรสูงขึ้น 1.5 C (ตามอากาศที่ร้อนขึ้น) ในช่วงปี 1996-1998 ทำให้แผ่นน้ำแข็งเริ่มละลายและบางลง ส่งผลให้น้ำท่วมในหลายเมืองใหญ่ของสหรัฐ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) จึงทำการจำลองสภาพอากาศและความเป็นไปได้ที่จะส่งผลต่อแผ่นน้ำแข็งในอนาคต พวกเขาพบว่า หากมนุษย์ยังคงปล่อยก๊าซในลักษณะเช่นนี้ไปเรื่อยๆ อุณหภูมิโลกจะเพิ่มสูงขึ้น 2.6-4.8 C แต่หากมนุษย์สามารถลดการปล่อยก๊าซลงได้อุณหภูมิโลกจะลดลง 0.3-1.7 C แต่ถ้ามีการปล่อยก๊าซในปริมาณสูงในช่วง 50...
ภาวะโลกร้อน และ สภาพอากาศที่เปลี่ยนไปไม่เพียงแต่ทำให้อุณหภูมิในประเทศต่างๆ นั้นพุ่งสูงขึ้น หรือหนาวมากกว่าเดิมเท่านั้น แต่สำหรับ Antarctica ทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลก ก็ได้รับผลกระทบส่งผลให้น้ำแข็งละลายลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย ปัญหาน้ำแข็งละลายในเขต Antarctica นั้นมีมานานตั้งแต่ปี 2016 และยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากสภาพอากาศที่เลวร้ายมากขึ้นในทุกๆวัน ปัญหานี้ไม่เพียงส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แต่มันยังส่งผลต่อ ‘เพนกวินจักรพรรดิ’ ที่อาศัยอยู่ในเขต Brunt Ice Shelf นั้นอีกด้วย สำนักข่าว British Antarctic Survey (BAS)...
ในปัจจุบันมนุษย์เป็นตัวการหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 30-40 ตัน/ปี และหากยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ มันจะย้อนกลับมาทำลายวิถีชีวิตของเรา และสิ่งที่เราควรทำคือลด Carbon dioxide ในชั้นบรรยากาศลง อีกหนึ่งทางทีดีไม่แพ้การลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว คือการช่วยกันปลูกต้นไม้ ต้นไม้ใช้ Carbon dioxice ส่วนเราก็ได้ Oxygen จากต้นไม้ Win-Win ทั้งคู่ แต่ตอนนี้มันไม่ง่ายอย่างนั้นเสียแล้ว งานวิจัยล่าสุดพบว่าโลกของเราแทบไม่มีพื้นที่เหลือไว้สำหรับปลูกต้นไม้ให้เพียงพอต่อการลดปริมาณ Carbon Dioxide ให้ลงมาอยู่ตามเกณฑ์แล้ว เพราะหากว่ากันจริงๆ เราต้องปลูกต้นไม้ให้เต็มพื้นที่ของประเทศอเมริกา...