เรื่องราวของเทคโนโลยีนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบกับเรื่องกีกๆ อย่างคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟนอย่างเดียว แต่โลกดนตรีก็เปลี่ยนไปเยอะมากตามเทคโนโลยีที่อยู่รอบตัว ซึ่งเรื่องนี้คงไม่มีใครให้ข้อมูลได้ดีกว่า ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม ผู้คร่ำหวอดในวงตรีเพลง ดีเจ และการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเสียงเพลงมายาวนาน ซึ่งให้ความเห็นภายในงาน Creative Talk Conference 2019 (CTC 2019) ไว้อย่างน่าสนใจครับ

สถานที่ที่ฟังเพลง มันเปลี่ยนวงการเพลงในแต่ละยุคแต่ละสมัย

  • ยุคเพลงคลาสสิก ทำเพลงเพื่อสรรเสริญพระเจ้า เครื่องดนตรีเลยต้องดัง และเสียงยาวๆ เลยกลายเป็นออแกนเป็นพระเอก
  • ต่อมาคนรวยอย่างฟังเพลงที่บ้าน ซึ่งห้องที่ฟังก็เปลี่ยนไป เสียงไม่ได้ก้องอย่างห้องใหญ่ ดนตรีเลยเปลี่ยนเป็นวงเล็กลง
  • ดนตรีแจ๊ส เกิดในผับ ต้องต่อสู้กับเสียงคนที่คุยกัน ทำให้เสียงดนตรีต้องดัง และมีจังหวะที่จะแทรกเข้าไประหว่างผู้คนได้
  • ปัจจุบัน สถานที่จัดคอนเสิร์ตของวงดังๆ กลายเป็นสถานที่ใหญ่มาก เช่นสนามกีฬา ซึ่งคนที่มาฟังก็แมสมากๆ เพลงจึงต้องมีท่อนที่จำง่ายๆ ให้คนร้องตามได้

เทคโนโลยีการบันทึกเสียง ก็เปลี่ยนรูปแบบเพลง

  • ยุคแผ่นเสียงต้องทำให้เพลงสั้นลง เพราะหน้าแผ่นเสียงมีจำกัด จะเพลงยาวแบบเพลงคลาสสิกที่มีหลาย Movement ก็ไม่ไหว
  • ยุควิทยุต้องเปิดทีละเพลง เพลงเลยสั้นลงเหลือราว 3.30 นาที เพราะนานไปเดี๋ยวคนหมุนหนี ทำให้สถานีวิทยุไม่เปิด
  • ยุคเทปมีหน้า B ก็เอาไว้ลงเพลงแปลกๆ ที่ไม่ฮิต เลยมีศัพท์เรียกว่า B side
  • ยุคหนึ่ง ringtone ฮิตมาก การแต่งเพลงก็ต้องดีไซน์ฮุคหนึ่ง ความยาวสัก 30 วิเพื่อไปอยู่ใน ringtone ได้เพราะๆ
  • ยุคโซเซียล อันนี้น่าสนใจมาก เมื่อ Tierra Whack ออกเพลง 1 นาทีทั้งอัลบั้ม เพื่อออกใน instragram ได้

Play video

เทรนด์วงการเพลงในอนาคตจะเป็นยังไง

  • ศิลปิน noname จะดังเร็วขึ้น ถ้าทำเพลงฮิตจริงๆ เพราะตอนนี้กระจายได้เร็วมากผ่าน Social Media (ลองดูตัวอย่างในบทความนี้นะครับ “10 ที่สุดของเนื้อร้องเพลงไทยในปี 2018” )
  • ธุรกิจคอนเสิร์ตเติบโตอย่างรุนแรง บัตรก็แพงขึ้น เพราะคนออกมาร่วมมากขึ้น
  • ตอนนี้ AI สามารถช่วยแต่งเพลงได้ โดยเฉพาะช่วยแต่งทำนอง แต่ง Beat ที่คนน่าจะติดหู
  • เพลงสำหรับผู้สูงอายุ คนแก่เริ่มใช้ออนไลน์มากขึ้นแล้ว
  • ไวนิลจะเริ่มกลับมา เทปก็กลับมาในบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มซื้อความทรงจำ

Play video