‘ญี่ปุ่น’ กับ ‘วัฒนธรรมความละอาย’ ที่สะท้อนผ่านความรับผิดชอบของผู้คน ไม่ใช่แค่ผู้นำ
เรามักจะเคยได้เห็นได้ยินข่าวของประเทศแห่งเทคโนโลยีและวัฒนธรรมอย่างญี่ปุ่นอยู่เสมอ เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจนเกิดผลกระทบที่รุนแรง ...อ่านต่อ
ในยุคที่ใคร ๆ ต่างมีเครื่องมือทุ่นแรงในการใช้ทำงานของตัวเองและ AI ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยเฉพาะ ChatGPT ที่ถูกนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มอบความสะดวกสบาย และประหยัดเวลาสำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ทุกคนอาจจะไม่รู้ว่าเราอาจจะต้องแลกมาด้วยผลกระทบที่หลายคนคาดไม่ถึง ผลการศึกษาโดยทีมวิจัยจาก MIT Media Lab ซึ่งนำโดย ดร. นาตาลียา คอสมินา (Nataliya Kosmyna) ได้เผยให้เห็นมุมมองใหม่ที่ชวนกังวลต่อการพึ่งพา AI ในการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
งานวิจัยนี้ศึกษากลุ่มอาสาสมัคร 54 คน อายุ 18-39 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
ตลอดระยะเวลา 4 เดือน นักวิจัยได้ติดตามกิจกรรมสมองใน 32 บริเวณ ผ่านการสแกนด้วยคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างแต่ละกลุ่ม
ที่น่าตกใจคือ เมื่อให้อาสาสมัครเขียนเรียงความใหม่โดยไม่ใช้ AI ผู้ที่เคยใช้ ChatGPT กลับทำได้แย่กว่า พวกเขามีความจำเกี่ยวกับงานที่เพิ่งทำได้ไม่ดี และกิจกรรมของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับความจำและความคิดสร้างสรรค์ลดลงอย่างชัดเจน โดยการเชื่อมต่อประสาทในสมองลดลงเฉลี่ย 47% จาก 79 จุด เหลือเพียง 42 จุด
ดร. คอสมินา อธิบายว่า การพึ่งพา AI อย่าง ChatGPT แม้จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น (เพิ่มความเร็วได้ราว 60%) แต่กลับลดภาระทางปัญญาที่ใช้ในการประมวลข้อมูลและสร้างโครงร่างลงถึง 32% ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิจัยนิยามว่าคือ “หนี้ทางปัญญา” (Cognitive debt) ซึ่งหมายถึงการที่สมองไม่ได้สร้างหรือฝึกฝนทักษะที่สำคัญ ทำให้ในระยะยาวผู้ใช้สูญเสียความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์ได้เอง
สิ่งที่ทีมวิจัยกังวลมากที่สุดคือ ผลกระทบนี้อาจย้อนกลับได้ยาก โดยเฉพาะกับสมองของเยาวชนที่ยังอยู่ในช่วงพัฒนา ดร. คอสมินา เตือนว่าการนำ AI เข้ามาใช้ในกลุ่มเด็กโดยไม่เข้าใจผลกระทบ อาจทำให้เกิดปัญหาทางปัญญาและจิตใจในระยะยาว
นอกจากนี้ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ดร. ซีชาน ข่าน (Zishan Khan) ยังเห็นพ้องต้องกันว่าการพึ่งพา AI ในระดับสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาทางจิตใจและบั่นทอนพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน