“โรคมโน” ที่เราจะนำมาให้คุณผู้อ่านได้ทำความรู้จักกันนี้ มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ คือ “Overactive Imagination” แน่นอนว่าหนึ่งในคุณสมบัติที่มนุษย์ทุกคนมีก็คือ การมีความหวัง การมีความฝัน การมีจินตนาการถึงภาพชีวิตที่สวยงาม หรือการมีชีวิตตามต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ แต่อย่าลืมว่าสิ่งใดที่มากจนเกินไป สิ่งนั้นสามารถย้อนกลับมาทำร้ายคุณได้เสมอ และโรคมโนอาจกลายเป็นเรื่องอันตรายได้ เมื่อสิ่งนี้เริ่มรบกวนชีวิตประจำวันและก่อให้เกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส 

ทำความรู้จักกับ บุคลิกภาพแบบ Fantasy prone personality

FPP ถือเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่ผิดปกติ ได้รับการระบุอย่างเป็นทางการครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1980 จากการวิจัยของ Josephine Hilgard ซึ่งสังเกตจากผู้คนที่ได้รับการสะกดจิต นักวิจัยพบว่าผู้ที่ถูกสะกดจิตได้ง่ายมักจะเป็นผู้ที่มีจินตนาการที่กว้างไกล และคงอยู่กับภาพจินตนาการนั้นได้อย่างยาวนาน และงานวิจัยบางชิ้นชี้ว่าคนที่มีภาวะ Overactive Imagination ไม่สามารถแยกแยะจินตนาการและความทรงจำจริง ๆ ออกจากกันได้ นำภาพจินตนาการและภาพแห่งความเป็นจริง นำมาผสมรวมกัน และเชื่อว่าเป็นความจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชีวิต 

อาการของโรคมโน

ผู้ที่มีภาวะ Overactive Imagination หรือมีบุคลิกภาพแบบ Fantasy prone personality มักจะมีการแสดงอาการ ดังนี้

  • ใช้เวลาจำนวนมากไปกับการมโนเรื่องราวที่มีรายละเอียดมาก มีความซับซ้อน 
  • มีการจินตนาการเรื่องราวเป็นฉาก ๆ ราวกับเนื้อหาภาพยนตร์
  • มีความยากลำบากในการควบคุมความปรารถนา ที่มาจากการเพ้อฝัน
  • มีความละอายใจ และมีความพยายามที่จะเก็บพฤติกรรมนี้ไว้ไม่ให้ผู้อื่นเห็น
  • มีปัญหาในการแยกแยะความแตกต่างระหว่างจินตนาการและความเป็นจริง
  • ในบางจังหวะของการใช้ชีวิต มีความรู้สึกและทำตัวเหมือนเป็นอีกคนหนึ่งที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง 
  • ไม่เคยรู้สึกเบื่อ เพราะเมื่อใดก็ตามที่เมื่อรู้สึกเบื่อก็จะเข้าสู่โหมดจินตนาการทันที
  • พบเห็นภาพหลอนสิ่งที่ไม่มีจริง 

อาการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะสุขภาพจิตอื่น ๆ ตามมาได้ หรือมีภาวะทางด้านสุขภาพจิตอื่น ๆ อยู่แล้ว จนทำให้เกิดโรคมโนขึ้นมา เช่น โรคหลายบุคลิกภาพ (DID) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) เป็นต้น และนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่า การเพ้อฝันหรือมีการมโนเป็นเวลานานเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสพติดทางพฤติกรรม

แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับวิธีการจัดหมวดหมู่การฝันกลางวันที่ไม่เหมาะสมและ FPP แต่ก็จริงที่สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพและผลที่ตามมาในชีวิตประจำวัน เช่น:

ปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะ Overactive Imagination

  • ต้องการหลีกหนีความรับผิดชอบบางอย่าง
  • ต้องการตัดขาดจากกิจกรรมทางสังคม 
  • ไม่สามารถควบคุมจินตนาการได้ แม้ว่าชีวิตยังมีเรื่องอื่น ๆ ให้โฟกัสมากมายก็ตาม 
  • นำตัวเองเข้าสู่โหมดมโน เพื่อทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ 
  • พบสถานการณ์หรือปัญหาที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากสังคมในที่ทำงาน หรือปัญหาที่เกิดจากสังคมในที่โรงเรียน 

แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของภาวะ Overactive Imagination แต่นักวิจัยจำนวนมาก ก็ได้พยายามให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีแนวโน้มมีภาวะ Overactive Imagination จะมีความรู้สึกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน หรือเคยถูกลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการสร้างจินตนาการขึ้นมาเพื่อหลบลึกความเจ็บปวดในโลกแห่งความเป็นจริง และเข้าไปมีความสุขในสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้นมา จากจินตนาการ และมักมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย 

  • อาการ dissociative โรคหลายบุคลิก 
  • มีอาการหลง ๆ ลืม ๆ  
  • ระดับเซโรโทนินผิดปกติ
  • ประสาทหลอน
  • มีความรู้สึกไวต่ออารมณ์ด้านลบ

หรือภาวะ Overactive Imagination อาจมาพร้อมกับอาการทางจิตอื่น ๆ ดังนี้ 

  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรควิตกกังวล 
  • โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD)
  • โรคอารมณ์ 2 ขั้ว

วิธีแก้ไขและดูแลตัวเองจากการมีภาวะ บุคลิกภาพแบบ Fantasy prone personality

ถ้าคุณรู้สึกว่าตัวคุณเอง หรือแม้แต่คนรอบตัวเข้าข่ายที่จะมีภาวะเช่นนี้ เราก็มีวิธีแก้ไขและวิธีเยียวยาตนเองในเบื้องต้นมาฝาก 

  • ทำความรู้จักกับ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น: สิ่งสำคัญคือคุณต้องรู้ว่าอะไรทำให้คุณหลีกหนีจากความเป็นจริง และหลุดเข้าไปในโลกแห่งจินตนาการของคุณ จดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนที่คุณจะเริ่มใช้จินตนาการมากเกินไป และพยายามนำตัวเองออกจากสิ่งเร้าเหล่านั้น 
  • หางานอดิเรกทำ: เมื่อคุณใช้เวลาว่างไปกับงานอดิเรกที่คุณชอบ จะทำให้คุณมีเวลาลง ในการใช้เวลาไปกับการจินตนาการ 
  • วางแผนกิจกรรมที่ทำให้คุณไม่ว่าง: การทำกิจกรรมใน 1 วันนี้ สามารถเป็นกิจกรรมที่แตกต่างกันได้ เช่น ตื่นแต่เช้าเพื่อออกกำลังกาย และออกไปทำงาน เลิกงานก็อาจจะกลับมาทำอาหารทานเอง หรือออกกำลังกายอีกรอบ หรืออาจจะใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ วางแผนกิจกรรมที่รัดกุมในทุกๆ วัน จนทำให้คุณไม่มีเวลาว่างตั้งแต่เช้ายันนอน  
  • สติ: พยายามเจริญสติเพื่อจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น 

และถ้าคุณสังเกตเห็นว่าคนรอบตัวคุณอาจกำลังมีอาการนี้อยู่ ให้คุณพยายามทำความเข้าใจกับภาวะที่เกิดขึ้นกับเขาให้มาก และพยายามเข้าใจว่าโดยพื้นฐานแล้วไม่มีมนุษย์คนไหนที่อยากเกิดมาแล้วไม่มีความสุข ไม่มีใครที่อยากเกิดมาแล้วไม่ปกติ ดังนั้นคุณอาจจะให้คำแนะนำเขา รับฟังเขา นำทางไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง

โดยในกรณีที่มีอาการมากจนเกินไป ก็อาจจะแนะนำให้เข้ารับการรักษาจากคุณหมอจิตแพทย์ และในกรณีที่เขาเล่าเรื่องราวเกินจินตนาการมา ก็ให้รับฟังแต่ไม่จำเป็นต้องเชื่อ และพยายามหาทางช่วยเหลือรักษาบุคคลที่กำลังตกอยู่ในภาวะเหล่านี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ 

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส

เนื้อหาล่าสุด

หลุดภาพ Oppo A2 Pro สมาร์ตโฟนระดับกลาง แบต 5,000 mAh ที่อาจเปิดตัว 15 กันยายนนี้!

ทิปสเตอร์ Digital Chat Station เปิดเผยว่า Oppo เตรียมเปิดตัวสมาร์ตโฟนระดับกลางรุ่นใหม่ Oppo A2 Pro โดยรุ่นนี้ได้รับการรับรองจาก TENAA แล้ว และอาจเปิดตัวในวันที่ 15 กันยายนนี้

Ethan Hawke เผยความรู้สึกที่ต้องมากำกับลูกสาวแสดงฉากเลิฟซีน

ขึ้นแท่นสาวงานชุกไปอีกคนหนึ่งแล้ว สำหรับ มายา ฮอว์ก (Maya Hawke) ลูกสาวคนสวยของ อีธาน ฮอว์ก (Ethan Hawke) และ อูมา เธอร์แมน (Uma Thurman) มายาเข้าวงการแสดงมาตั้งแต่ปี 2016 ...อ่านต่อ

YouTube เตรียมปล่อยฟีเจอร์จัดการโฆษณาใหม่สำหรับผู้สร้างคลิปในเดือนพฤศจิกายน

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป YouTube จะปิดใช้งานการควบคุมโฆษณาสำหรับผู้ใช้ YouTube Studio

George Lucas ต้องคอยห้าม Liam Neeson – Ewan McGregor ไม่ให้ทำเสียง Lightsaber ตอนถ่ายหนัง ‘Star Wars’

เลียม นีสัน (Liam Neeson) เผย จอร์จ ลูคัส (George Lucas) ต้องคอยห้ามเขากับ อีวาน แม็กเกรเกอร์ (Ewan McGregor) ไม่ให้ทำเสียง Lightsaber ตอนถ่ายหนัง 'Star Wars Episode 1'